GATI2015 Part 1 : Introduction

  • 0

GATI2015 Part 1 : Introduction

Category : GATI2015

หมายเหตุ – บทความนี้มีหลาย Part ขอบคุณที่ติดตามจนจบ ครับ

ก่อนจะเล่าประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนวิชา GATI (Global Awareness for Technology Implementation) ก็ต้องเล่าให้ฟังคร่าวๆก่อนวิชานี้คืออะไร
วิชานี้ว่าด้วยเรื่องของการออกแบบเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่มันใช้ได้กับที่ที่หนึ่ง มันอาจใช้ไม่ได้กับที่อื่นเสมอไปก็ได้ ดังนั้นเราจะต้องเรียนรู้ความแตกต่างเหล่านี้ แล้วก็เปิดใจเรียนรู้ และลองเอาเทคโนโลยีจากที่อื่นๆเสนอมา มาพัฒนาให้ work กับบ้านเรา
วิชานี้มี อาจารย์โปรดปราน Proadpran Punyabukkana แห่งภาคคอม เป็นผู้สอนหลักๆ และสามารถลงเป็น Approved Elective สำหรับบางภาควิชาได้ (เช่น คอม)
มาที่นักเรียนที่เรียนวิชานี้กันบ้าง จะลงเรียนวิชานี้ได้ ต้องเขียนบทความตามหัวข้อที่อาจารย์กำหนด ให้อาจารย์เป็นผู้คัดเลือก ปีนี้มีคนได้รับเลือกมาเรียนวิชานี้จำนวน 8 คนด้วยกัน เย่
  1. Alena Kengchon (Waste Management)
  2. Purichaya Kuptajit (Waste Management)
  3. นพพร บุญสิทธิ์ (Waste Management)
  4. Sanchai Jaktheerangkoon (Disaster Management)
  5. Pawissakan Chirupphapa (Disaster Management)
  6. Fai Huntrakool (Disaster Management)
  7. Lens Chevintulak (Transportation)
  8. Kotchakorn Build Kh (Transportation)

นี่คือทีม Waste Management

นี่คือทีม Disaster Management

นี่คือทีม Transportation
แล้วก็มี TA อีก 1 คน คือพี่มะเหมี่ยว (หรือมะปิ่น) Pinhathai Limrahahpan
วิชานี้ ในปีนี้ เรียนร่วมกับ Tokyo Tech (Tokyo Institute of Technology) หรือ Tokodai ในปีนี้ วิชานี้ Focus ที่หัวข้อ 3 หัวข้อได้แก่
  1. Waste Management
  2. Disaster Management
  3. Transportation
ครึ่งเทอมแรก (ญี่ปุ่นยังไม่เปิดเทอม) ได้ไปศึกษาดูงานอยู่หลายๆที่ ตามหัวข้อที่ปีนี้ Focus
เริ่มต้นที่ Land Fill และเตาเผาขยะ จังหวัดนนทบุรี เห็นภาพนี้แล้วอย่าเพิ่งตกใจ อยากให้เครื่องคอมของทุกท่านมีระบบรับกลิ่น นี่คือสิ่งที่เราทิ้งกันทุกวัน และสิ่งนั้นเข้ามาอยู่ในดินแดนแห่งขยะ

นี่คือ Land Fill
นี่คือเตาเผาขยะ แต่ว่าในไทยเราไม่ได้เผาขยะทุกชนิดนะ อันนี้ทำไว้สำหรับเผาขยะติดเชื้อ — หรือพูดง่ายๆก็คือ ขยะจากโรงพยาบาล นั่นเอง ที่มีเชื้อโรคอยู่เยอะ ดังนั้นเอาไปลง Land Fill นี่ไม่ดีแน่ เลยต้องจัดการเผา วันต่อวันเลยนะ

นี่คือ เตาเผาขยะ
ต่อมาก็ได้ไปดูหน่วยงาน RIMES สถานที่เกี่ยวกับระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติ ซึ่งหน่วยงานนี้ทำหลักๆเกี่ยวกับการแจ้งเตือน Tsunami แต่ว่า หารูปไม่เจอ ขออภัย นะครับ
ต่อมา ก็ได้ไปทดลองเดินทางโดยการคมนาคมที่แสนดีงามของกรุงเทพ ในการเดินทางไปยังที่ต่างๆ รอบกรุงเทพ โดยทำตัวเป็นชาวต่างชาติ และไม่พูดภาษาไทย ลองดูว่า คนไทยจะช่วยเหลือชาวต่างชาติยังไงบ้าง ซึ่งเราได้แบ่งกันเป็น 4 กลุ่ม 4 เส้นทาง เราอยู่กลุ่ม B เพื่อให้เรารู้ถึงปัญหาของการเดินทางในกรุงเทพ และได้ลองการเดินทางบางแบบที่อาจยังไม่เคยไป

ตัวอย่างการเดินทาง ของ Team B
ลองดูวีดีโอก็ได้ ที่นี่
  1. The Journey : https://www.youtube.com/watch?v=tqV…
  2. The Analysis : https://www.youtube.com/watch?v=4qm…
งานที่ทำในปีนี้ช่วง Midterm มี 2 อย่างด้วยกันคือ
  1. Paper ที่เป็น Case study “Institutional Waste Strategy at Chula Engineering, A Case Study” และมีตัวแทน Pawissakan Chirupphapa ไป Present ที่ Waseda
  2. Transportation Documentary แนะนำการเดินทางโดยวิธีต่างๆในประเทศไทย (Youtube link ข้างบนเป็นส่วนหนึ่ง)
หลังจาก Midterm จบแล้ว ก็เข้าสู่ Part 2 คือการเรียนร่วมกับ Tokyo Tech ซึ่งเขาก็มีนักเรียน 8 คนเหมือนกัน เรียนกันทางไกลผ่าน Polycom และทำงานกันทางไกลผ่าน Google Drive และ Google Hangout มี expert ในแต่ละสาขามาบรรยายให้ฟัง ทั้งจากไทย และญี่ปุ่น หลังจากนั้นเราก็ต้องแบ่งกลุ่มกันเพื่อทำ Proposal และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ จากปัญหาที่เราได้ศึกษา และเรียนรู้กันมา แต่ละกลุ่ม ก็จะมีนักเรียนไทย 2-3 คน และนักเรียนญี่ปุ่น 2-3 คน ซึ่งนักเรียนญี่ปุ่นมีหลากหลายสัญชาติมากทั้งญี่ปุ่น จีน เกาหลี อินโดนีเซีย

บรรยากาศเวลานั่งเรียนผ่าน Polycom

บรรยากาศจากฝั่งญี่ปุ่นก็มา
เราก็มีการคุยกันในกลุ่ม และทำงาน ทำ Project กันทุกสัปดาห์ และมีการ Present ทุกสัปดาห์เหมือนกัน และการ Present proposal สุดท้าย จะมีขึ้นที่ ญี่ปุ่น ช่วง 17-24 ธ.ค. ที่เราจะได้ไปเจอกันแบบ face to face กันแล้ว
ตอนต่อๆไปจะเกี่ยวกับการเดินทาง การผจญภัยในญี่ปุ่นแล้ว หละ … ตามรูป

นี่คือ เกือบ ครบทีม นักเรียน และอาจารย์ใน วิชานี้

Leave a Reply